Accessibility Tools

  1. Thai language
  2. English
  3. Increase the font size
  4. Reduce font size
  5. Normal font size
  6. High Definition
  7. Negative sharpness
  8. Normal Definition
  9. Open and read with voice
  10. Turn off voice reading
  11. Site map
This website uses cookies (Cookies)

The Department of Older Persons Affairs values ​​your personal information for the purpose of developing and improving the website. If you use this website without changing any settings it means that you agree to receive cookies on the website and our privacy policy.

See details
  • 02-659-6811
  • [email protected]
  • ก-
  • ก
  • ก+
  • C
  • C
  • C
  • th
  • en
กรมกิจการผู้สูงอายุ
  • Home
  • About Us
    • History
    • Vision & Missions
    • Structure
    • Executives
    • Strategies
    • Tasks
    • Symbol
    • Flower Enblem
    • Department Chief Information Officer
    • Contact Us
  • Internal Sectors
    • Office of the Secretary
    • Division of Strategy and Plan
    • Division of Older Persons Welfare Promotion and Rights Protection
      • Division of Older Persons Welfare Promotion and Rights Protection
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบุรีรัมย์
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุภูเก็ต
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์ (เชียงใหม่)
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านทักษิณ จังหวัดยะลา
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม
      • - ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค
    • Division of Older Persons Promotion
      • Division of Older Persons Promotion
      • - ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมด้านผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี
    • Division of Older Fund Administration
    • Administration System Development Group
    • Internal Audit Group
  • News
    • News
    • Procurement News
    • Budget disbursement results report
    • Job News
    • Circular Letters
    • HR
    • Guidelines for dissemination of dop
    • Information Center, Department of Elder
    • Innovation news for the elderly
    • Time Bank
    • Invite talk
    • Calendar of Events
    • Gallery
    • Activities Gallery
    • Interesting News
  • Human Resource Management
    • งานวิเคราะห์ตำแหน่งและอัตรากำลัง
    • งานสรรหา บรรจุแต่งตั้ง และทดลองราชการ
    • งานประเมินบุคคลและเส้นทางความก้าวหน้า
    • งานเงินเดือน และค่าตอบแทน
    • งานสวัสดิการ บำเหน็จบำนาญ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์
    • งานพัฒนาบุคลากร ทุนรัฐบาล และการประเมินความพึงพอใจ
    • งานวินัย
    • งาน อ.ก.พ.กรม
    • ระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ SEIS และ DPIS
    • พนักงานราชการและลูกจ้างประจำ
    • กลุ่มงานจริยธรรม
    • การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
    • ประกาศ คำสั่ง หนังสือแจ้งเวียน
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคหญิงชาย
    • องค์ความรู้และไฟล์นำเสนอ
  • Internal Audit Group
    • News
    • Various knowledge
    • Publication documents
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
    • ตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการฯ
    • PMQA 4.0
    • รางวัลเลิศรัฐ
    • การจัดการความรู้และนวัตกรรม (KM)
    • การประเมินผลการควบคุมภายใน
    • นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี
    • การถ่ายโอนภารกิจ
    • แผนบริหารความต่อเนื่องเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (BCP)
    • คู่มือการปฏิบัติงาน (WORK MANUAL)
    • เอกสารเผยแพร่
    • การรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (มาตรฐาน GECC)
  • Policies & Laws
    • Plans and Policies
    • Laws
    • Rights / Welfares
  • Plans & Results
    • Operation Plan
    • Implementation Result
    • Integrated Plan to Prepare to Support an Aging Society
    • Service Statistics Information
    • MOU
  • Knowledge
    • Statistics on Older Persons
    • Intelligence Department (KM DOP)
    • Article
    • Academic work/research
    • Publication
    • Integrating the Digital Platform under the integrated plan to prepare to support an aging society for fiscal year 2022
    • E-Library
    • Operation manual
    • Peoples Guide
    • Human resource management report
    • Knowledge about the Official Information Act, B.E. 2540
    • Information Technology
    • Multimedia
  • Service
    • Walk-in Service Statistics
    • Form download
    • Q&A
    • FAQ
    • Channels for hearing opinions
    • Complaint
    • Web links
    • RSS
    • Search
  • Home
  • Service
  • ถามตอบ (Q&A)
  • การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ
การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ

การจัดตั้งโรงเรียนผู้สุงอายุ

๑.ต้องดำเนินการอย่างไร

๒.แนวทางการดำเนินงาน ของโรงเรียนผู้สูงอายุ

๓.ถ้าเป็นการดำเนินงานแบบต่อเนื่อง สามารถขอสนับสนุนงบประมาณได้จากหน่วยงานใด

From : พัฒนาชุมชน
วันที่ : 3 พฤษภาคม 2559 | 117,777 ครั้ง

ขอบคุณครับ

จัดฟัน รักษารากฟัน ครอบฟัน เคลือบฟัน อุดฟัน ฟอกฟันขาว ฟันปลอม

From Norrawed
วันที่ : 10 ก.ค. 2559 เวลา 22:18

เรียน คุณพัฒนาชุมชน

การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้

 

     1. การดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ

          โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นรูปแบบหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษา การพัฒนาทักษะ
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น โดยวิทยากรจิตอาสาหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุจะได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์ ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน

          โรงเรียนผู้สูงอายุหลายแห่งตั้งขึ้นโดยใช้อาคารเรียนเก่าของโรงเรียนที่เลิกกิจการหรือตั้งอยู่ในชมรมผู้สูงอายุ ภายในวัด บางแห่งใช้บ้านของผู้ริเริ่มก่อตั้งเป็นสถานที่ดำเนินการการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในระยะแรก อาจเป็นเพียงการรวมกลุ่มพบปะพูดคุยกัน แล้วจึงค่อยๆ มีรูปแบบชัดเจนขึ้น มีกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของผู้สูงอายุ หรืออาจเป็นการขยายกิจกรรมจากที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ศูนย์บริการทางสังคม
แบบมีส่วนร่วม (ศาลาสร้างสุข) ศูนย์สามวัย ธนาคารความดี เป็นต้น โรงเรียนผู้สูงอายุสามารถมีรูปแบบและกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ ความต้องการของผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ จะกำหนดตารางกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ไว้ชัดเจน ระยะเวลาเปิดเรียนอาจเป็นตลอดปีหรือเปิดเป็นช่วงเวลาตามหลักสูตรที่จั🙂บรม ส่วนใหญ่จะจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 วัน

 

วัตถุประสงค์ของโรงเรียน

1.  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ

2.  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแล คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ

3. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

5. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ คุณค่าภูมิปัญญาผู้สูงอายุให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ

6. เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดต่อไป

 

      ประโยชน์ที่ผู้สูงอายุได้รับจากโรงเรียนผู้สูงอายุ

 1. ด้านสุขภาพร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง กระฉับกระเฉง ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย ลดระยะเวลาการพึ่งพาผู้อื่น อายุยืน  

 2. ด้านจิตใจ ช่วยให้คลายเหงา จิตใจกระชุ่มกระชวย สดชื่น รู้สึกภาคภูมิใจและตระหนักในคุณค่า ความสามารถของตนเอง มีมุมมองเชิงบวกต่อตนเอง

 3. ด้านสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย ได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกกของกลุ่ม

 4. ด้านจิตปัญญา รู้เท่าทันและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามวัย

 5. ด้านเศรษฐกิจ เรียนรู้ทักษะทางด้านอาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยเหลือตนเองต่อไป

 

     ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม

 1. โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นพื้นที่เรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ดำรงสืบทอดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน

 2. โรงเรียนผู้สูงอายุเป็น “เวที” ที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รวมทั้งอาจเป็นแรงผลักดันให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในชุมชน

 

2. แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ

    ขั้นตอนการดำเนินงาน

 - ประชุมประชาคมเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากพื้นที่

 - คัดเลือก และแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ

 - จัดทำแผนขั้นตอนในการดำเนินงาน

 - จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ

 - ขับเคลื่อนการดำเนินงาน

 - ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

 

    โครงสร้างโรงเรียนผู้สูงอายุ

การขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพ ควรมีองค์ประกอบดังนี้

     - ที่ปรึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุ การตั้งที่ปรึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นกลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมในการรับรู้การดำเนินงานของโรงเรียน และเป็น “ใบเบิกทาง” ให้แก่การดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลต่อการสร้างความน่าเชื่อถือในการทำงาน และถือเป็นการสร้างพันธมิตรในการทำงานชั้นเยี่ยม ที่ปรึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุ อาจเป็นฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆราวาส เช่น นายอำเภอ ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการหรือข้าราชการเกษียณ เป็นต้น

     - ครูใหญ่ หรือประธาน หรือผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุ องค์ประกอบนี้ เป็นส่วนสำคัญมากและถือเป็น “หัวใจ” ของการขับเคลื่อนงาน ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ หรือประธาน หรือผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นแกนนำที่เป็นผู้ริเริ่มงานของโรงเรียนผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับและศรัทธาจากกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประสานงานและรังสรรค์กิจกรรมต่าง ๆของโรงเรียน

     - คณะกรรมการและแกนนำร่วมขับเคลื่อน ถือเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขของความสำเร็จ เพราะกลไกหลัก
ในการเคลื่อนงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ การกำหนดจำนวนคณะกรรมการหรือแกนนำร่วมขับเคลื่อนขึ้นอยู่กับการแบ่งหน้าที่ หรือแบ่งงานภายในโรงเรียนผู้สูงอายุแต่ละแห่ง

      - ทีมวิทยากรจิตอาสา  เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นประการหนึ่งของโรงเรียนผู้สูงอายุเพราะใช้ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีเป็นตัวตั้งขับเคลื่อน ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น วิทยากรจากสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน ข้าราชการบำนาญ พระสงฆ์ รวมถึงการขอความอนุเคราะห์วิทยากรจิตอาสาจากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งในลักษณะเครือข่ายทางสังคม เช่น กศน. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร รพ.สต. โรงพยาบาลสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในแต่ละจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

 

         การบริหารจัดการ ด้วยหลัก 5 ก ประกอบด้วย

   - กลุ่ม ต้องสร้างการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุให้เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นกลุ่มแกนนำคณะทำงาน และกลุ่มสมาชิก หรือกลุ่มนักเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการทำงาน ในขั้นนี้อาจมีกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นกลุ่มก้อนได้หลายวิธี เช่น การเปิดรับสมัครสมาชิกหรือนักเรียนผู้สูงอายุ การต่อยอดจากกลุ่มเดิมที่เคยมีอยู่ในชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ การสร้างสัญลักษณ์ของความเป็นกลุ่มสมาชิก อาทิ มีสัญลักษณ์โรงเรียนผู้สูงอายุ
มีเสื้อสัญลักษณ์ของนักเรียนผู้สูงอายุ เป็นต้น

   - กรรมการ ถือเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มที่จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการกลุ่มให้การทำงานประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ควรสร้างกระบวนการคัดเลือกผู้ที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ช่วยกันขับเคลื่อนการทำงานให้ประสบความสำเร็จ เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้การบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพ

   - กติกาหรือข้อตกลงร่วมกัน ต้องเกิดจากความเห็นพ้องต้องกันของสมาชิกในโรงเรียนผู้สูงอายุ เหมือนเป็นสัญญาใจที่มีต่อกันว่าจะร่วมกันยึดถือและปฏิบัติตาม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน แม้ว่าเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการชุดใหม่จะยังคงมีแนวทางการทำงานเดิมให้เห็นและพัฒนาต่อยอดได้

   - กิจกรรม ในระยะเริ่มแรกอาจเน้นไปที่การสร้างกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เช่น

การจัดให้มาพบปะกันทุกเดือน มีกิจกรรมร้องเพลง กิจกรรมนันทนาการรูปแบบอื่น ๆ กิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับเด็กและเยาวชนหรือการรวมกลุ่ม ออกกำลังกาย เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จึงเคลื่อนไปสู่การทำกิจกรรมที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การบูรณาการโรงเรียนผู้สูงอายุเข้ากับการทำงานของ “ธนาคารความดี”

   - กองทุน การขับเคลื่อนงานของโรงเรียนผู้สูงอายุให้เป็นไปอย่างมั่นคงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการหางบประมาณเพื่อการดำเนินงานด้วยตนเอง วิธีการหางบประมาณเข้ากองทุนของกลุ่ม อาจจำแนกได้เป็น การสร้างกองทุนของตนเองการเก็บค่าสมาชิก การขอรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม การเขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน แหล่งทุนต่าง ๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนสุขภาพตำบล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นต้น

     อย่างไรก็ตาม งบประมาณไม่ใช่หัวใจของการขับเคลื่อนงานได้เท่ากับการมีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะที่จะสร้างสรรค์สวัสดิการทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

    1. มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ทุ่มเท เสียสละ และมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์กิจกรรม
ของโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผู้สูงอายุ หรือผู้นำทางด้านจิตใจ เช่น พระภิกษุ เพราะมีผลโดยตรงต่อการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นทั้งแก่ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของโรงเรียน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของความร่วมมือและการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน

    2. มีเป้าหมายชัดเจนและมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
ถือเป็นการกำหนดทิศทางการทำงานที่สร้างความเข้าใจร่วมกันในหมู่คณะกรรมการหรือแกนนำ จะเป็นพลัง
ที่เข้มแข็งในการทำงานร่วมกันและการจัดให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ถือเป็นกลไกในการเชื่อมร้อยความเป็นกลุ่ม และความเป็นชุมชนของผู้สูงอายุให้เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ในการขับเคลื่อนงานโรงเรียนผู้สูงอายุให้บรรลุผล

    3. มีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมจะทำให้เกิดความผูกพันและความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน กลไกที่ทำให้สมาชิกมีส่วนร่วมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประชุมประจำเดือน การสร้างเวทีในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การร่วมกันดำเนินงาน

    4. มีเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง การสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง อาจพิจารณาได้ 2 ระดับ คือ การสร้างเครือข่ายทางสังคมภายในกลุ่มหรือในหมู่สมาชิกของโรงเรียนผู้สูงอายุด้วยกัน เช่น ในรูปแบบคณะกรรมการ หรือการมีตัวแทนในแต่ละหมู่บ้าน และการให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงาน องค์กรภายนอก เพื่อประสานพลังในการทำงานร่วมกัน

    5. มีการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยการทบทวนตนเองและสรุปบทเรียนในการทำงานเป็นระยะ เรียนรู้จุดแข็ง จุ🙂่อน ข้อที่ควรพัฒนาให้ดีขึ้น และนำมาพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

    6. มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนุนเสริม การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น งบประมาณ บุคลากร สถานที่ การประสานเครือข่าย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่จะผลักดันให้การเคลื่อนงานของโรงเรียนผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้ และดำเนินการไปอย่างราบรื่น

 

          3. ถ้าเป็นการดำเนินงานแบบต่อเนื่อง สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณได้จากหน่วยงานใด

           หากประสงค์ที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณ สามารถเขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน แหล่งทุนต่าง ๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) , กองทุนผู้สูงอายุ , กองทุนสุขภาพตำบล และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น

From กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ
วันที่ : 10 พ.ค. 2559 เวลา 10:18

ควรมีคะเพราะสมัยนี้ผู้สูงอายุมีมากไม่มีกิจกรรมไรทำแล้วทำให้ร่างกายและจิตใจเสื่อมถอย

From สุภัควดี เปรมขัยพร
วันที่ : 8 ธ.ค. 2559 เวลา 07:58

ควรที่จะส่งเสริมผู้สูงอายุในเรื่องของการสื่อสารบนโลก Social on line แบบพื้นฐานที่ไม่มีความยุ่งยากมากเพราะถึงอย่างไรเราก็หนีไม่พ้นการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ตามกาลเวลาเพราะวัฒนะธรรมต่างๆมันเป็น Automatic propulsion Driving ขอสมัครเป็นครูอาสาชี้แนะแบบพื้นฐาน Cuorse Digital ในการใช้โทรศัพท์อย่างถูกต้องและปลอดภัยโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆทั้งสิ้นในพื้นที่อำเภอมัญจาคีรีจังหวัดขอนแก่นและไกล้เคียงเช่นชัยภูมิ/ชุมแพ/สารคาม/ติดต่อได้ตามรายละเอียดนี้นะครับ

Mobile 0833428678

Email [email protected]

ID line 0982342460 / ID line Soonthonphaitee2501 

face book สุนทร ครู ง.มัญจาคีรีขอนแก่น

ยังมีผู้สูงอายุอีกหลายๆท่านต้องการการชี้แนะในการสื่อสารบนโลกโซเชี่ยลแบบง่ายๆแต่..จะมีซักกี่คนที่จะเข้าใจท่านเหล่านั้นถึงแม้ท่านจะมีบุตรหลานคอยแนะนำก็ตาม ด้วยความปรารถนาดีจาก    (นักพัฒนาจิตอาสา)

 

From นายสุนทร ฝ่ายที
วันที่ : 2 พ.ค. 2560 เวลา 09:17

จำนวนผู้สูงอายุในโรงเรียน ตอนนี้มีกี่ท่านค่ะ

From ปุ๊ก
วันที่ : 21 มิ.ย. 2560 เวลา 11:18

ขอชื่นชมคุณครูสุนทร ครู ง มัญจาคีรีค่ะ จิตใจท่านงามแท้น่าเสียดายที่ นี่ สระบุรีไกลเกินที่จะได้ร่วมงานกันค่ะ

 

From Bon Nongkhae Saraburi
วันที่ : 12 ก.ค. 2560 เวลา 19:30

ขอชื่นชม ท่านค่ะอยากให้มานำเสนอที่ รร.ผู้สูงอายุ อ.อุทุมพร จ.ศรีสะเกษ

From อัญชลีพร อยู่หนูพะเนาว์ ตำแหน่งรองปลัด
วันที่ : 30 ส.ค. 2560 เวลา 09:58

ตั้ง โรงเรียนสูงอายุ มีกฏหมาย รับรองหรือ ไม่

From ขั้นเทพ
วันที่ : 26 เม.ย. 2561 เวลา 22:24

ขอสอบถามเป็นความรู้ว่า การที่จะจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุของโรงพยาบาลจะต้องทำเรื่องขออนุญาตได้ที่หน่วยไหนบ้างค่ะ  

From สุพัฒนา ผลพานิช
วันที่ : 27 ส.ค. 2561 เวลา 14:19

ผมจิตอาสาสอนโรงเรียนผู้สูงอายุที่ ตำบลหนองไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครราสีมา ประมาณ 30 ท่าน นัดพบนักเรียนเดือนละครั้ง ทุกท่านตั้งใจมาโรงเรียนดีมาก ห่อข้าวมารับประทานด้วยกัน วิชาที่สอนก็เน้นความสนุกสนานกิจกรรมการมีส่วนร่วม ออกกำลังกายประกอบเพลง งานประดิษฐ์เล็กๆน้อยๆ ร้องเพลง อยากได้ที่เป็นหลักสูตรว่าจะให้เรียนรู้อะไรบ้าง เครื่องแบบนักเรียน เครื่องหมายสัญญลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นแบบไหน? อยากให้หน่วยงานเบื้องบนแวะมาเยี่ยมชมบ้าง เป็นสิ่งที่ดีครับไม่อยากให้ผู้เฒ่าเฝ้าบ้านเหมือนที่ผ่านมา ขอผู้รู้แนะนำการสอนด้วยนะครับ

From สุทธิวิทย์ จันทร์ภิรมย์
วันที่ : 22 ก.ย. 2561 เวลา 17:12

From นางเริ่ม​ มูลนา
วันที่ : 8 ธ.ค. 2561 เวลา 18:38

การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ หรือโรงเรียนผู้สูงวัย  มีกฎหมายรองรับหรือไม่

เพราะถ้ามีชื่อว่า"โรงเรียน" จะต้องขออนุญาตจัดตั้งอย่างเป็นทางการ

และโรงเรียนสูงอายุบางแห่งมีการแต่งกายเหมือนกับนักเรียน ผมคิดว่ามีความผิดตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551  

From นายประเสริฐ จิตรเกาะ
วันที่ : 24 ม.ค. 2562 เวลา 09:23

From น.ส.กัณฑิมา วชราภรณ์พินทุ
วันที่ : 20 ก.พ. 2562 เวลา 16:53

From นราธิป แก้วสม
วันที่ : 11 ก.ค. 2563 เวลา 17:38

เป็นโครงการที่ดีมากครับ

From สมรัก ภาชีทรัพย์
วันที่ : 13 ก.ค. 2565 เวลา 08:34

รร.ผู้สูงอายุมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ถ้าไม่เป็นหน่วยงานของรัฐแล้ว จะมีฐานะเป็นอะไร

From นายวีรพล อยู่ศรี
วันที่ : 17 ส.ค. 2565 เวลา 16:17

อยากให้มีงบประมาณลงไปสนับสนุนเยอะๆ โดยที่มีเงื่อนไขและวิธีการดำเนินการที่ง่ายในการทำเอกสารไม่ยุ่งยาก

From นางสาวสายฝน ชีซ้ำ
วันที่ : 24 ส.ค. 2566 เวลา 15:32

ผมคณะทำงานจากโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านเขาสมอแคลงตำบลวังทองอำเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลกได้ขับเคลื่อนมาเป็นระยะเวลา 6-7 ปีเปิดทำการเรียนการสอนให้กับผู้สูงอายุทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ผมอยากทราบว่าการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านเขาสมอแคลงมีผู้มีกลุ่มผู้สูงอายุไปแจ้งขึ้นเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุของกระทรวงพัฒนาสังคมจังหวัดสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้หรือไม่ครับหรือสามารถตรวจสอบติดตามได้จากตรงไหนบ้างครับ

From นายสมพงษ์จิตสีผู้ใหญ่บ้าน0947422452
วันที่ : 16 ก.ย. 2566 เวลา 22:11

อยากทราบตัวเลขงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุทั่วประเทศ ประจำปีงบ 2566 ครับ พอดีว่าจะนำตัวเลขไปทำรายงานครับ ไม่เจอแหล่งข้อมูล ขอบคุณครับ

From ภักดิภูมิ
วันที่ : 23 พ.ย. 2567 เวลา 11:14

ห้าม! ระบุเลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัญชีธนาคาร หรือข้อมูลอื่นใดที่สามารถระบุข้อมูลตัวบุคคล

คำเตือน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพและเป็นไปตามกฎหมาย พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 และ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562
  1. ห้ามใช้ข้อความอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์ และราชวงศ์
  2. ห้ามใช้ข้อความ คำหยาบคาย ลามก อนาจาร ทะลึ่ง เกินที่สุภาพชนทั่วไปจะรับได้ (ถ้าข้อคิดเห็นของท่านมีเหตุผล น่าสนใจ แต่มีบางคำไม่เหมาะสมแฝงอยู่ ก็จะโดนลบทิ้ง)
  3. ห้ามใช้ข้อความ ที่มีเจตนา ใส่ร้าย-ใส่ความ บุคคลอื่น อย่างชัดแจ้ง และ ไร้เหตุผลรองรับ
  4. ห้ามใช้ข้อความ ท้าทาย ชักชวน โดยมีเจตนาก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท หรือความวุ่นวายขึ้น
  5. ห้ามใช้ข้อความกล่าวโจมตี หรือวิพากษ์วิจารณ์ในทางเสียหายต่อ ศาสนา หรือคำสอนต่างๆ
  6. ห้ามใช้ชื่อ / นามแฝงอันเป็นชื่อจริงของผู้อื่น โดยมีเจตนาทำให้สาธารณะชนเข้าใจผิด และเจ้าของชื่อผู้นั้นได้รับความเสียหาย หรือเสื่อมเสียชื่อเสียง
  7. ห้ามใช้ข้อความที่พิมพ์ ข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น เช่น ชื่อจริง เบอร์โทร อีเมล์หรือเบอร์โทรศัพท์ โดยมีเจตนากลั่นแกล้ง ให้เกิดความเสียหาย
  8. ห้ามใช้ข้อความโฆษณาชวนเชื่อทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็น โฆษณาเว็บ, สินค้า, บริการ, กลวิธีการหารายได้ทั้งหลาย
  9. ระบบจะเก็บข้อมูล IP Address ของท่านเพื่อระบุตัวตน เมื่อท่านป้อนข้อมูลเข้าสู่เว็บไซต์นี้แล้วแสดงว่าท่านให้ความยินยอมนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา
Agency contact information

Department of Older Persons

Address Ministry of Social Development and Human Security f.6 1034 Krung Kasem Road, Mahanak , Pomprapsattruphai, Bangkok 10100

Contact channels
Tel. 02-659-6811
Email [email protected]

Hotline : 02-659-6811
กรมกิจการผู้สูงอายุ
Menu
  1. Home
  2. About Us
  3. Internal Sectors
  4. News
  5. Human Resource Management
  6. Policies & Laws
  7. Plans & Results
  8. Knowledge
  9. Service
Policies
  1. Privacy Policy
    1. - คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  2. Security Policy
  3. Cookies Policy
  4. Data Governance Policy
  5. Website Policy
  6. ประกาศข้อปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ พ.ศ.2567 กรมกิจการผู้สูงอายุ
  7. ประกาศนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ.2567

© All rights reserved under the Copyright Act by Department of Older Persons

Visitors This day : 2,138 This month : 126,593 This year : 1,127,039

(Supports Internet Explorer 9.0 or higher, or Google Chrome 80.0 or higher.)

Download PDF viewer
Valid HTML5 Valid HTML 4.01! Valid CSS! [Valid RSS]
Icons : Designed by Freepik