กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ลงพื้นที่จังหวัดพังงา พบปะชาวชุมชนบ้านทับตะวัน พร้อมร่วมพิธีเปิดงาน "ชมวิถีชาวเล ยลเสน่ห์มานิ Charming of the Sea - Let's see the Mountain 2025"

กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ลงพื้นที่จังหวัดพังงา พบปะชาวชุมชนบ้านทับตะวัน พร้อมร่วมพิธีเปิดงาน "ชมวิถีชาวเล ยลเสน่ห์มานิ Charming of the Sea - Let's see the Mountain 2025"
วันที่ 17 พ.ค. 2568 | ผู้เข้าชม 38 ครั้ง | โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์/กลุ่มอำนวยการอธิบดี

กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ลงพื้นที่จังหวัดพังงา พบปะชาวชุมชนบ้านทับตะวัน พร้อมร่วมพิธีเปิดงาน "ชมวิถีชาวเล ยลเสน่ห์มานิ Charming of the Sea - Let's see the Mountain 2025" 

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.40 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมด้วยนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) นายธนสุนทร สว่างสาลี อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ นางพรนิภา มาสิลีรังสี รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ และคณะผู้บริหารกระทรวง พม.  ลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนชาวชุมชนบ้านทับตะวัน พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และเงินสงเคราะห์ให้แก่ครอบครัวเปราะบาง ณ ชุมชนบ้านทับตะวัน ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

 

จากนั้นเวลา 17.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานเปิด "โครงการชมวิถีชาวเล ยลเสน่ห์มานิ Charming of the Sea - Let's see the Mountain 2025" พร้อมมอบโล่รางวัล "เชิดชูเกียรติผู้นำคนพิการที่สร้างแรงบันดาลใจ TOP 10" โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของของมนุษย์ (ปลัด พม.) นายบุญธรรม ถาวรทัศนกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา  นายธนสุนทร สว่างสาลี อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ นางพรนิภา มาสิลีรังสี รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ผู้นำเครือข่ายชาติพันธุ์ พี่น้องราษฎรชาติพันธ์ชาวเล และมานิ ประชาชนทั่วไป นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศเข้าร่วมงาน

 

โครงการชมวิถีชาวเล ยลเสน่ห์มานิ “Charming of the Sea - Let's see the Mountain 2025" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 18 พฤษภาคม 2568 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรู้จักชาติพันธ์ชาวเล และมานิมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมเผยแพร่ รักษาศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาติพันธุ์ชาวเล และมานิ เป็นการสัมผัสความแตกต่าง คุณค่าความหลากหลายอย่างเข้าใจ เกิดคุณค่าทางสังคมและเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่สำคัญต่อไป ตลอดจนสร้างรายได้ให้กับราษฎรชาติพันธุ์ชาวเล และมานิ ทั้งในช่วงเวลาของการจัดโครงการฯ และเป็นการประชาสัมพันธ์ที่จะสามารถสร้างการรับรู้ในสังคมและสร้างรายได้ในระยะยาว