‘สูงวัยสร้างเมือง’ สานพลังผู้สูงอายุ ด้วยกลยุทธ์ 5อ.

‘สูงวัยสร้างเมือง’ สานพลังผู้สูงอายุ ด้วยกลยุทธ์ 5อ.
วันที่ 4 มี.ค. 2564 | ผู้เข้าชม 4,369 ครั้ง | โดย พีรพัฒน์ อินทร์อำนวย

จากผลการสำรวจในปี 2560 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุราว ๆ 11 ล้านคน (คิด
เป็น 17% ของประชากรทั้งหมด) ซึ่งคาดว่าอีกไม่เกิน 4 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะกลาย
เป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยจะมีคนไทยที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป ราว ๆ 20% ของ
ประชากรทั้งหมด

เพื่อตอบรับกับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะมาถึง โครงการ “สูงวัยอย่างมีพลัง” จึงถูกสร้าง
ขึ้นเพื่อให้คนไทยเจริญวัยไปพร้อม ๆ กับสุขภาพที่ดี มีความมั่นคงทางรายได้และที่อยู่
อาศัย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้ตามที่เขาต้องการ โดยปฏิบัติตามหลัก
การ ดังนี้

1. พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ
3. พัฒนาระบบบริการในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ
4. จัดตั้งกองทุนและสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุ
5. พัฒนาระบบข้อมูลและการใช้ข้อมูลเพื่อดูแลผู้สูงอายุ
6. พัฒนากติกา ระเบียบ แนวปฏิบัติ เพื่อหนุนเสริมการดำเนินกิจกรรมเสริมความเข้ม
แข็งชุมชนท้องถิ่น ในการออกแบบและพัฒนาให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเอื้อต่อ
การดำรงชีวิตที่ยืนนาน

จากหลักการข้างต้นนี้ จึงเกิดเป็นกลยุทธ์ ‘5อ. และ 5ก.’ กลยุทธ์ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตให้ผู้สูงอายุ! โดย 5อ. ประกอบไปด้วย

1. อาชีพของผู้สูงอายุ สร้างโรงเรียนฝึกอาชีพของผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้
ประกอบอาชีพตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญของตน สามารถผลิตของใช้เองเพื่อ
ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อให้กลุ่มผู้สูงวัย
ได้รวมกลุ่มกันสร้างงาน สร้างรายได้ จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ภายใต้การสนับสนุน
ของชุมชน

2. อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจะต้องสามารถปลูกพืชผักสวนครัวและสมุนไพร เพื่อ
ปรุงอาหารสุขภาพกินในครอบครัวได้ มีสมุนไพรรักษาโรคใช้ จะแบ่งปันหรือขายก็สา
มารถทำได้ ส่งเสริมให้มีการแปรรูปและถนอมอาหารเพื่อสุขภาพ ฝึกอบรมการใช้สมุน
ไพรรักษาโรค สร้างวัฒนธรรมแบ่งปันในชุมชน สนับสนุนการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ในพื้น
ที่สาธารณะของชุมชน แล้วนำผลผลิตที่ได้ไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ยากไร้

3. ออกกำลังกายอย่างผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายทุกวันทั้งในบ้าน
และรวมกลุ่มกันในชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการออกกำลังกาย มีการผลิตอุปก
รณ์ออกกำลังกายสำหรับตนเอง สำหรับเพื่อนบ้าน และสำหรับจัดจำหน่าย สร้างบุคคล
ต้นแบบในด้านการออกกำลังกาย พร้อมส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายในทุกกิจกรรม
และเทศกาลของชุมชน

4. ออมเงินเพื่อผู้สูงอายุ กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออมเงินร่วมกับกลุ่มหรือกองทุนในชุมชน
เพื่อจะได้รับสวัสดิการจากกลุ่มและกองทุนอย่างพอเพียง จัดระบบให้ผู้สูงอายุที่มีจิต
อาสาได้มีโอกาสในการ “ออมความดี” เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนและมีผลตอบแทน
จากการทำความดี ส่งเสริมให้ผู้สูงวัยทำบัญชีครัวเรือน และร่วมสมทบกองทุนเพื่อช่วย
เหลือผู้สูงอายุคนอื่นได้

5. อาสาสมัครสร้างเมือง ชักชวนให้ผู้สูงอายุทำงานอาสาในกลุ่มของตนเอง เช่น การ
ร่วมกันซ่อมแซมบ้านและปรับสิ่งแวดล้อมให้เพื่อนหรือผู้ยากไร้ในชุมชน ทำความ
สะอาดพื้นที่สาธารณะและศาสนสถาน รณรงค์จัดการขยะชุมชน ลงพื้นที่เยี่ยมเยือน
เพื่อนผู้สูงอายุในชุมชน ฝึกทักษะการดูแลตนเองและผู้อื่นให้แก่ผู้สูงอายุ จนสามารถ
ถ่ายทอดประสบการณ์ต่อให้คนในชุมชนได้